Home / 408 / 408 COVID-19 Pandemic event – สำหรับใครบ้าง
single

408 COVID-19 Pandemic event – สำหรับใครบ้าง

 

ประกาศนี้ออกมาหลายวันแล้วค่ะ แต่เนื่องจากกฏหมายที่ออกมามีความคลุมเครืออยู่บางประเด็น คนเขียนก็รอดูอยู่ว่าอิมมิเกรชั่นจะมีอัพเดทอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ รอมาหลายวันก็ยังไม่มี แต่ถ้ามี ก็จะมาอัพเดทให้ที่โพสนี้นะคะ

 

Update 1: 21 April 2020 ตัวหนังสือสีน้ำเงิน

Update 2: 22 April 2020 ตัวหนังสือสีเขียว

 

วีซ่า 408 ตัวนี้ ไม่มีค่ายื่น  และส่วนคนที่อาจจะสิทธิ์ได้วีซ่า 408 ก็คร่าวๆประมาณนี้ค่ะ

 

1. มีวีซ่าเหลืออยู่ไม่เกิน 28 วัน หรือวีซ่าหมดไปแล้วไม่เกิน 28 วัน
2. ไม่สามารถเดินทางกลับออกไปได้เพราะ COVID-19
3. ไม่สามารถขอวีซ่าประเภทเดิมหรือวีซ่าประเภทอื่นได้แล้ว นอกจากวีซ่า 408
4. สายงานที่ทำมีความเกี่ยวข้องกับ COVID-19 เช่น agriculture, aged care, public health หรืองานที่เกี่ยวกับการ supply of essential goods and services
4.1 คนที่ทำงานในสายงานอื่นนอกเหนือจากสายงานในข้อ 4. หรือคนที่ไม่ได้ทำงาน ก็สามารถยื่นใบสมัครได้
5. มีความตั้งใจที่จะอยู่ที่นี่ชั่วคราว (GTE – Genuine Temporary Entry)
6. สามารถดูแลตัวเองทางด้านการเงินได้ในระหว่างที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งอาจจะเป็นการโชว์เงินในบัญชีหรือสัญญาจ้างงาน
7. ต้องมีประกันสุขภาพ

 

ป.ล. คนที่ติด section 48 bar (เคยถูกปฏิเสธหรือถูกยกเลิกวีซ่า และถือ bridging visa)    ไม่สามารถสมัครได้
        คนที่ติดเงื่อน “no further stay” ต้องขอ waiver ก่อน

 

         คนเขียนเชื่อว่าวีซ่า 408 เป็น option ที่ดีสำหรับน้องหลายๆคนนะคะ

 

โน๊ตนะคะว่า การยื่นใบสมัครได้ ไม่ได้หมายความว่าจะได้วีซ่าเสมอไป แต่ถ้าคุณสมบัติโดยรวมถึง และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมหรือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของเรา การยื่นและรอลุ้นน่าจะดีกว่าการปล่อยให้วีซ่าหมดอายุโดยไม่ดำเนินการอะไรเลย (โน๊ตนี้สำหรับทุกวีซ่าค่ะ)

 

ระยะเวลาของวีซ่า 408
สำหรับคนที่ทำงานใน Critical sectors =  up to 12 months
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานใน Non-Critical sectors = up to 6 months และไม่มีสิทธิ์ทำงาน


Critical sectors คือสายงานอะไรบ้าง
สำหรับตอนนี้ก็เช่น
agriculture, food processing, health care, aged care, disability care or childcare แต่อิมมิเกรชั่นสามารถปรับเปลี่ยนสายงานได้นะคะ คือเช็คสายงานก่อนยื่น

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

Blog: https://visablog.weebly.com

 

Post Tagged with ,