Author Archives: Kay Subhodyana

Home / Articles posted by Kay Subhodyana

เคสนี้น้องติดต่อมาหาคนเขียนหลังจากที่วีซ่า 485 ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้องไม่ได้ยื่นใบสมัครภายใน 6 เดือนนับจากที่เรียนจบ น้องหลายคนอาจจะคิดว่า นับ 6 เดือนยากตรงไหน?? …. ก็ยากตรงที่ 6 เดือนของน้อง กับ 6 เดือนของโรงเรียน บางทีก็ไม่ตรงกัน !!! อ้าว …. แล้วอิมมิเกรชั่น เชื่อใคร?? …. ส่วนใหญ่เชื่อโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นหน่วยงานที่สอน ตรวจข้อสอบ และระบุว่านักเรียนจบหรือไม่จบ และจบเมื่อไหร่ …. คือเป็นหน่วยงานที่น่าจะเชื่อถือได้ มากกว่าเด็กนักเรียนที่อาจจะเข้าใจวันจบผิด หรือคิดเข้าข้างตัวเอง พูดง่ายๆคือโอกาสที่โรงเรียนจะผิดพลาด มีน้อยกว่าโอกาสที่นักเรียนจะผิดพลาด แต่ก็ไม่เสมอไปใช่ไหม …. กฏหมายและนโยบาย ถึงเปิดช่องให้โต้เถียงได้ไง สำหรับเคสนี้ จากเอกสารที่พิจารณาในวันนัดปรึกษาเบื้องต้น สรุปได้ว่า ◘  อิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่า 485 ของน้อง เพราะวันจบคอร์สที่น้องระบุในใบสมัคร (ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลา 6 เดือน)◘  ไม่ตรงกับวันจบที่ระบุใน Letter of Completion ที่โรงเรียนออกให้◘  […]

Continue Reading...

เคสนี้ลูกจ้างนัดปรึกษาเมื่อปลายปี 2023 ถือ Work and Holiday visa ต้องการทำวีซ่า 482 กับนายจ้างคนปัจจุบัน สรุปได้ว่า วีซ่าจะหมดเดือนมีนาคม 2024 และจะต่อวีซ่านี้อีกไม่ได้แล้ว นับนิ้วดู ….. มีเวลาตั้ง 4 เดือน (สบายๆ) …… สัมภาษณ์ประเด็นอื่นต่อ …… เริ่มไม่สบายแล้ว วีซ่าตัวปัจจุบัน ให้ทำงานกับนายจ้างได้แค่ 6 เดือน และธันวาคมนี้จะครบ 6 เดือน …. เหลือเวลา 1 เดือน !!! ถ้าจะทำงานกับนายจ้างต่อ ก็ต้องยื่น 482 ภายในธันวาคม (จากนั้นก็ action สเต็ปอื่นต่อ และรอลุ้น) ถ้าจะไม่ยื่นเดือนธันวาคม ต้องหานายจ้างคนใหม่ ความยากที่ 1 – อาชีพที่จะสปอนเซอร์ Customer Service Manager มีโอกาสถูกปฏิเสธสูงมาก (แปลว่าถ้าไม่จำเป็น […]

Continue Reading...

เคสนี้ น้องลูกความติดต่อมาจากไทย น้องเป็นนักเรียนที่ออสเตรเลียมาหลายปี …. สัมภาษณ์กันอยู่นาน …. สรุปได้ว่า …. ปัญหาเกิดเมื่อน้องต่อ Student visa เอง ซึ่งตอนนั้นวีซ่าที่ถืออยู่หมดอายุไปแล้วด้วย …. ปรากฏว่าใบสมัคร invalid (ยื่นไม่ถูกต้อง อิมมิเกรชั่นไม่รับใบสมัคร) น้องก็พยายามแก้ปัญหาเองต่อไปอีก …. ปรากฏว่าไม่รอด สุดท้ายต้องขอ Bridging visa E และกลับไทย แต่กว่าจะกลับไทย น้องอยู่แบบไม่ถือวีซ่านานเกิน ติดบาร์ 3 ปี ไปเรียบร้อย เนื่องจากยังเหลือเรียนอีก 1 วิชา น้องก็ติดต่อเอเจนต์ให้ยื่นวีซ่านักเรียนให้ (เข็ดทำเอง) อิมมิเกรชั่นปฏิเสธวีซ่า สั้นๆง่ายๆ อยู่ออสเตรเลียมานาน ไม่เชื่อว่าเป็นนักเรียนจริง น้องติดต่อคนเขียนหลังจากถูกปฏิเสธวีซ่า …. เครียดมาก ไม่คิดว่าจะถูกปฏิเสธวีซ่า ข้าวของที่ออสเตรเลียก็ไม่ได้แพ๊ค ค่าเช่าก็ยังต้องเสีย ตัวอยู่ไทย ไม่มีงานทำ คนเขียนขอดูเอกสารว่าวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธยื่นอะไรไปบ้าง …. ปรากฏว่ามีจดหมายอธิบายว่าทำไมถึงมีความผิดพลาดเรื่องวีซ่า ทำไมยื่นในออสเตรเลียไม่ทัน จนมีประวัติไม่ถือวีซ่าและต้องกลับมายื่นวีซ่าจากไทย …. […]

Continue Reading...

  ► กฏเปลี่ยน 482 ที่จะปรับใช้วันที่ 25 November 2023 จริงๆ ก็คือกฏเก่าที่เคยใช้สมัยที่ยังเป็นวีซ่า 457 นั่นเอง ► กฏเปลี่ยนนี้ ให้ประโยชน์กับผู้สมัคร (นานๆ จะมีกฏเปลี่ยนแบบนี้ให้ชื่นใจซะที) ► นับจาก 25 November 2023      1. ถือ 482 แค่ 2 ปี ยื่นขอพีอาร์ 186 ได้     2. ไม่สนใจว่าอาชีพตอนถือ 482 จะอยู่ใน MLTSSL STSOL หรือ Labour agreement     3. ไม่สนใจ Occupation list … ไม่ต้องกังวลว่าอาชีพจะหายไปจากลิสหรือไม่     4. 482 ในอาชีพ STSOL […]

Continue Reading...

  “ธุรกิจตั้งใหม่” สำหรับอิมมิเกรชั่นคือ ธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาไม่ถึง 1 ปี เคสธุรกิจตั้งใหม่ ที่คนเขียนเพิ่งทำจบไปเร็วๆนี้ คนเขียนกำลังจะยื่นใบสมัครอยู่วันพรุ่งนี้แล้ว น้องลูกความบอกว่าแอบกังวลมากกลัวไม่ผ่าน เคยได้ยินมาว่าธุรกิจต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป แต่เคสของน้องยังดำเนินการมาไม่ถึง 6 เดือน   นึกในใจ …… อ้าว ? … กังวล ? … แล้วทำไมไม่คุยกับคนเขียนก่อนหน้านี้ จะก่อนเซ็นสัญญาทำงาน หรือระหว่างทำเคสก็ยังดี มาบอกเอาวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะยื่นใบสมัครเนี่ยะนะ ?? … แล้วก็จะปล่อยให้คนเขียนยื่นใบสมัคร ทั้งๆที่ตัวเองกังวลเนี่ยะนะ ??? โอ๊ยปวดหัว   สิ่งที่พูดออกไป …… ►ต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ?? …. ไม่จริงค่ะ …. คนเขียนทำเคสที่ ….. ► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 2 วัน► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 4 อาทิตย์► […]

Continue Reading...

  ▓   ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมล์ ระหว่างรอผลวีซ่า ….. แจ้งอัพเดทข้อมูลกับอิมมิเกรชั่นด้วย   ▓   ไม่ได้เปลี่ยนอีเมล์ ? ….. นอกจากเช็ค Inbox แล้ว ….. เช็ค Junk / Spam ด้วย   ▓   2 อาทิตย์ 4 เคส …. ติดต่อมาด้วยปัญหาเดียวกัน ถูกปฏิเสธวีซ่า แต่ทราบเมื่อเลยกำหนดการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว           ◙  1 x เปลี่ยนอีเมล์ แต่ไม่ได้แจ้งอัพเดทอิมมิเกรชั่น          ◙  2 x อีเมล์แจ้งปฏิเสธวีซ่าไปตกอยู่ใน Junk / Spam          ◙  1 x เอเจนต์แจ้งให้ทราบช้า ! !   ▓   ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน ปัญหาใหญ่ …. […]

Continue Reading...

  ► ในอดีตไม่ว่าจะเป็นไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) หรือทนายความ (Legal Practitioner) ก็จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ Office of the Migration Agents Registration Authority (OMARA) และคนทั้ง 2 ประเภทก็จะต้องมีเลข Migration Agent Registration Number (MARN) ถึงจะให้คำแนะนำและการช่วยเหลือทางด้านวีซ่าและคนเข้าเมืองได้   ► ปัจจุบัน (2ปีกว่าแล้ว) กฏหมายแยกการขึ้นทะเบียนของไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) และทนายความ (Legal Practitioner) อย่างชัดเจน ซึ่งก็ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นด้วยว่าคนที่ตัวเองใช้บริการเป็นเอเจนต์หรือเป็นทนายความ   ► ไมเกรชั่นเอเจนต์ (Registered Migration Agent) จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ OMARA และมีเลข MARN … ตรวจสอบโดยการพิมพ์ชื่อ-นามสกุล ได้ที่ OMARA website […]

Continue Reading...

  มีน้องถามมาว่า คำแนะนำฟรี 5 นาที ยังมีอยู่หรือไม่ตอบ: ข้างล่างเป็นโพสที่เคยลงไว้นานหลายปีแล้ว ทุกอย่างยังเหมือนเดิม   ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░ ░   ปกติแล้วคนเขียนให้เวลา 5 นาที สำหรับน้องๆที่โทรมาถามคำถามนะคะ เงื่อนไขคือ 1. อะไรตอบได้ ตอบให้เลย 2. ถ้าตอบไม่ได้ เช่น เป็นเคสที่ต้องดูเอกสาร ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม เป็นเคสที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหัว (ใช่ค่ะ คนนะคะไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจำทุกอย่างได้ และ กฏหมายก็เปลี่ยนกันอยู่ตลอด ถ้าไม่แน่ใจว่าจะให้คำตอบที่ถูกต้อง คนเขียนไม่ตอบนะคะ) เคสที่ต้องซักถามและอธิบายกันนานเกิน 5 นาที เคสประมาณนี้ต้องนัดเวลารับคำปรึกษากันเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ ซึ่งก็จะมีค่าบริการตามความยากง่าย ความด่วนไม่ด่วนของแต่ละเคส 3. เวลาคนเขียนรับโทรศัพท์ ก็ไม่ได้พูดภาษาไทยนะคะ เพราะคนที่โทรมาอาจจะไม่ใช่คนไทย บางครั้งเป็นอิมมิเกรชั่น หน่วยงานอุทธรณ์ หน่วยงานอื่น หรือลูกความที่ไม่ใช่คนไทย […]

Continue Reading...

  █   ถือ Bridging visa A ออกนอกออสเตรเลียไม่ได้ (จริงๆออกได้ – ออกเมื่อไหร่วีซ่าหาย – กลับเข้าออสเตรเลียไม่ได้) █   ยื่นขอ Bridging visa B (BVB) แล้วออกนอกออสเตรเลียเลยไม่ได้ …. ต้องรอวีซ่าออกก่อนแล้วค่อยเดินทาง █   ระยะเวลารอ Bridging visa B (BVB) มีตั้งแต่ 1 วัน ถึงเป็นเดือน เพราะฉะนั้นเผื่อเวลาด้วย █   ธุรกิจตั้งใหม่ก็สปอนเซอร์พนักงานได้ █   ไม่ว่าเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ Trust/Trustee ก็สปอนเซอร์พนักงานได้ █   ยื่นขอวีซ่าจากไทย เช่นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน แล้วถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลทั่วๆไป เช่นไม่เชื่อว่าจะมาเที่ยวจริง จะมาเป็นนักเรียนจริง หรือส่งเอกสารไม่ครบ จะยื่นใหม่กี่รอบก็ได้ จะยื่นใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรยื่นเมื่อมีเอกสารที่ดีกว่าเดิม และตอบโจทย์ประเด็นที่ถูกปฏิเสธ █   ถูกปฏิเสธวีซ่าด้วย […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ เช่น 457 482 494 186 และ 187           Q: 187 ??? – วีซ่าตัวนี้ไม่มีแล้วไม่ใช่เหรอ          A: ยังทำได้ สำหรับคนกลุ่มเล็กๆที่ถือวีซ่า 457 หรือ 482   ประวัตินายจ้างสำคัญไหม – สำคัญมากค่ะ ไม่ว่าจะก่อนยื่น หรือหลังจากลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ถ้าอนาคตจะมีการสปอนเซอร์คนอื่นต่อ หรือจะมีการสปอนเซอร์ลูกจ้างที่ถือ Temporary visa เพื่อต่อยอดไปเป็นพีอาร์   เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสที่นายจ้างถูกอิมมิเกรชั่นลงตรวจหลังจากที่มีการสปอนเซอร์ลูกจ้างไปแล้ว 2 คน (ไม่ได้แปลว่าถ้าสปอนเซอร์แค่คนเดียวจะไม่ถูกลงตรวจ อยู่ที่นายจ้างไหนจะเจอแจ๊คพอต) …. เกิดอะไรขึ้น 1. อิมมิเกรชั่นเจอว่านายจ้างมีการแต่งตั้ง Director ใหม่ แล้วไม่ได้แจ้งให้อิมมิเกรชั่นทราบภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด   […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสวีซ่า 482 ที่น้องลูกความกังวลเรื่องประสบการณ์ และเรื่องการพ่วงแฟนในใบสมัครเดียวกัน เคสนี้ น้องนัดปรึกษากับคนเขียนมา 2 รอบในเรื่องของตัวเอง และ 1 รอบในเรื่องของแฟน ก่อนที่จะตัดสินใจลุยงานกัน น้องมีนายจ้างที่ต้องการสปอนเซอร์ แต่น้องมีประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปีตามนโยบายของอิมมิเกรชั่น และน้องไม่มีวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน ดูเผินๆเหมือนไม่น่าจะทำได้ น้องไปหาคำปรึกษาจากหลายที่ ได้รับคำแนะนำว่าประสบการณ์ยังไม่ถึงบ้าง ทำไม่ได้บ้าง   มาถึงคนเขียน น้องได้รับคำแนะนำให้ 1. สะสมประสบการณ์เพิ่ม คือรอไปก่อน หรือ2. ใช้ประสบการณ์ที่มีเทียบวุฒิการศึกษา ซึ่งน่าจะช่วยให้น้องยื่น 482 ได้เร็วขึ้น น้องเลือกที่จะเทียบวุฒิการศึกษา และยื่น 482 เลย ก่อนวีซ่าตัวปัจจุบันจะหมด   คนเขียนถือว่าเป็นเคสมีความเสี่ยง (แต่คนเขียนไม่กังวลเท่าไหร่ เพราะทำเคสประสบการณ์ไม่ตรง ประสบการณ์ไม่ถึงตามนโยบายของอิมมิเกรชั่นมาก็หลายเคส แต่ทำเคสคนอื่นผ่าน ไม่ได้แปลว่าเคสน้องจะต้องผ่านด้วย โดยสรุปคือจากประสบการณ์และเนื้อหาเคสน้อง คนเขียนว่าน่าจะรอด แต่จะมาให้ความหวัง 100% คงไม่ได้ 1. ไม่ใช่คนตัดสินเคส และ 2. เราไม่หลอกกัน […]

Continue Reading...

  วันนี้คนเขียนมาแชร์ประสบการณ์เคสที่มาหาคนเขียนระหว่างทาง … น้องยื่นใบสมัครวีซ่าไปแล้ว … โดยเอเจนต์ที่ให้คำแนะนำ ช่วยกรอก ช่วยยื่น แต่ไม่ยอมใส่ชื่อตัวเองในฐานะเอเจนต์ (Representative) ในใบสมัคร …. คือเสมือนน้องยื่นเอง ไม่มีคนช่วย   ถ้าใครเจอเอเจนต์แบบนี้ … อาจจะเป็นเพราะ …1. ไม่ใช่เอเจนต์ หรือทนายความ ไม่มีใบอนุญาตสำหรับการให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือด้านวีซ่า2. เป็นเอเจนต์ หรือเป็นทนายความ แต่เคสความเสี่ยงสูง ไม่อยากเสียประวัติ ถ้าทำเคสแล้วไม่ผ่าน หรือเป็นเคสที่ไม่มีหวังเลย แต่ไม่บอกลูกความตามตรง หรือตั้งใจทำเคสแบบหมกเม็ด dodgy3. โอเค มองโลกในแง่ดีขึ้นมาอีกนิด …?? คนเขียนคิดไม่ออกว่ามีเหตุผลอะไรดีๆมั่ง … น้องก็ถามเอเจนต์ไปเลยว่าทำไมถึงจะช่วยอยู่แค่เบื้องหลัง ทำไมไม่ลงชื่อเป็นเอเจนต์ในระบบอย่างที่ควรจะเป็น   น้องบางคน (รวมถึงลูกความเคสนี้) ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าใบสมัครของน้อง ไม่มี Representative on the record   น้องบางคน รู้ทั้งรู้ว่าเอเจนต์ (หรือไม่เอเจนต์) ช่วยอยู่แค่เบื้องหลัง แต่ก็ยอมใช้บริการ…. ทำไม ??? […]

Continue Reading...

คนเขียนมีน้องโทรมาถามกันเป็นระยะๆ พี่คะ แฟนหนูเคยสปอนเซอร์แฟนมาแล้ว 2 คน เค้าจะสปอนเซอร์หนูได้ไหมคะพี่คะ แล้วถ้าหนูมีลูกด้วยกัน มันจะทำให้เคสง่ายขึ้นไหมคะ   คำถามสั้น คำตอบไม่สั้น — คนเขียนไม่ค่อยตอบว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ บอกตามตรงว่าคำตอบแบบนี้ สำหรับคนเขียนรู้สึกว่าเป็นคำตอบไร้สาระ ตอบแบบไม่มีความรับผิดชอบ* ตอบว่าทำได้ ก็เป็นคำตอบให้ความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำไม่ได้* ตอบว่าทำไมได้ ก็เป็นคำตอบตัดความหวัง แต่จริงๆอาจจะทำได้ ก็ได้   กฏหมายคนเข้าเมืองอนุญาตให้สปอนเซอร์แฟนได้แค่ 2 คนค่ะ (Sponsorship limitation) … ถ้าต้องการสปอนเซอร์แฟนคนที่ 3 ต้องโชว์เหตุผลน่าเห็นใจ แจกแจงไปว่าทำไมอิมมิเกรชั่นถึงควรจะอนุญาตให้สปอนเซอร์อีกได้ ซึ่งไม่ง่าย แต่ละเคสเราต้องดูเนื้อหา เข้าใจเคสในรายละเอียด บางเคสต้องคิดหลายวัน บางเคสคิดกันเป็นเดือน บางเคสคิดไปตลอดระยะเวลาการทำงาน เพราะเป็นเคสความเสี่ยงสูง   ถ้าใครจับพลัดจับผลู ได้แฟนที่สปอนเซอร์ไปแล้ว 2 คน ทางเลือกของน้อง คือ1. เลิก2. เป็นแฟนกันไป แต่น้องหาวีซ่าอื่นยื่น … ที่ไม่ใช่ Partner […]

Continue Reading...

คนเขียนเห็นหลายคนโพสหน้า Visa grant letter หน้า ImmiAccount นานๆทีเห็นมีลงหน้าบัตรประชาชน หน้าพาสปอร์ตกันด้วย บางคนปิดข้อมูลบางส่วน แต่ก็ปิดไม่หมด ระวังกันด้วยนะคะ เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพเยอะ หรือน้องอาจจะมีเพื่อนผู้ไม่หวังดี มาช่วยทำชีวิตยุ่งเหยิง ที่เขียนโพสนี้ เพราะเมื่อวานเห็นมีคนลงหน้า ImmiAccount บน Social media แบบเต็มๆ ไม่ปิดอะไรเลย  มิจฉาชีพเข้าถึงใบสมัครและเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้เลยนะคะ (ไม่ขู่ ไม่ล้อเล่น เรื่องจริง) ข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย ไม่ใช่แค่ชื่อ และวันเดือนปีเกิด …. เลข Grant number เลข Application ID เลข File Number และ TRN ด้วยค่ะ ปิดให้หมด ว่าแล้วคนเขียนแชร์ประสบการณ์ดีกว่า จะได้เห็นภาพว่าภัยมีจริงนะจ๊ะ ไม่ได้ล้อเล่น น้องติดต่อมาปรึกษา น้องจ้างเอเจนต์เถื่อนยื่นวีซ่าลี้ภัย ตอนมาปรึกษาคือถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มอีกหลายพันเหรียญ คุณเถื่อนบอกว่าวีซ่าถูกปฏิเสธ เร่งให้ชำระเงินเพื่อยื่นอุทธรณ์  น้องอยากทราบว่านอกจากการยื่นอุทธรณ์แล้ว น้องมีทางเลือกอะไรอีกบ้างไหม วีซ่าลี้ภัย ?? […]

Continue Reading...

  Q: อุ๊ย 482 มี GTE ด้วยเหรอ ?? A: มีค่ะ สำหรับอาชีพที่อยู่ใน Short term list (STSOL) Q: เอิ่ม …. GTE คืออะไร ??? A: GTE หรือ Genuine Temporary Entrant คือประเด็นการพิจารณาของบางวีซ่า เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าท่องเที่ยว ที่อิมมิเกรชั่นจะต้องเชื่อว่าน้องเข้ามาเรียน มาทำงาน มาท่องเที่ยว แล้วก็จะกลับประเทศของตัวเอง วีซ่านักเรียนและวีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธด้วยประเด็นนี้เยอะมาก ประเด็น GTE ปกติแล้วไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับการขอ 482 STSOL …. แต่ต้องระวัง ถ้า * อยู่ออสเตรเลียมานานหลายปีแล้ว * ถือ 457 หรือ 482 STSOL มาแล้ว และต้องการขอ 482 […]

Continue Reading...