Home / 186 visa / แชร์ประสบการณ์ ธุรกิจตั้งใหม่สปอนเซอร์ 482 ได้ไหม
single

แชร์ประสบการณ์ ธุรกิจตั้งใหม่สปอนเซอร์ 482 ได้ไหม

 

“ธุรกิจตั้งใหม่” สำหรับอิมมิเกรชั่นคือ ธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาไม่ถึง 1 ปี

เคสธุรกิจตั้งใหม่ ที่คนเขียนเพิ่งทำจบไปเร็วๆนี้ คนเขียนกำลังจะยื่นใบสมัครอยู่วันพรุ่งนี้แล้ว น้องลูกความบอกว่าแอบกังวลมากกลัวไม่ผ่าน เคยได้ยินมาว่าธุรกิจต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป แต่เคสของน้องยังดำเนินการมาไม่ถึง 6 เดือน

 

นึกในใจ …… อ้าว ? … กังวล ? … แล้วทำไมไม่คุยกับคนเขียนก่อนหน้านี้ จะก่อนเซ็นสัญญาทำงาน หรือระหว่างทำเคสก็ยังดี มาบอกเอาวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะยื่นใบสมัครเนี่ยะนะ ?? … แล้วก็จะปล่อยให้คนเขียนยื่นใบสมัคร ทั้งๆที่ตัวเองกังวลเนี่ยะนะ ??? โอ๊ยปวดหัว

 

สิ่งที่พูดออกไป ……

►ต้องดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ?? …. ไม่จริงค่ะ

…. คนเขียนทำเคสที่ …..

► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 2 วัน
► ธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้ 4 อาทิตย์
► ธุรกิจที่เพิ่งซื้อขายเปลี่ยนเจ้าของกันเสร็จ (ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจตั้งใหม่เช่นกัน … เคสนี้ไม่ใช่สปอนเซอร์ 482 ด้วย แต่สปอนเซอร์เป็นพีอาร์ 186 กันเลย)
► แต่ละเคส ขึ้นอยู่กับเอกสาร และข้อมูลที่จะนำเสนอค่ะ
► เคสน้อง คนเขียนไม่กังวล (แปลว่าน้องก็ไม่ต้องกังวล)

…. เคสนี้ คนเขียนยื่นใบสมัครวันเสาร์ เราทราบผลวันพุธ (3 วันทำการ)

 

สิ่งที่คนเขียนไม่ได้บอกน้องลูกความในวันนั้น …..

► คนเขียนทำเคสที่ธุรกิจยังไม่ได้เปิดดำเนินการเลยด้วยซ้ำ เรายื่นขอเป็นสปอนเซอร์แล้ว
► ในขณะเดียวกัน คนเขียนก็มีเคสที่ธุรกิจเปิดมาเกินปี ซึ่งถือว่าไม่ใช่ธุรกิจตั้งใหม่แล้ว …. แต่คนเขียนแนะนำให้รอไปก่อน ยังไม่ยื่น เพราะดูภาพรวมแล้ว น่าจะไม่ผ่าน

 

น้องที่เซ็นสัญญาการทำงานกับคนเขียนทุกคน

1. ถ้ากังวล …. ถาม …. และถามโดยเร็ว …. จะได้สบายใจโดยเร็ว …. หรือมีคนเขียนช่วยกังวลไปด้วยอีกคน …. หรือมีคนเขียนช่วยหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว
2. ถ้ากังวล แล้วเก็บไว้ในใจ แล้วคนเขียนจะรู้ไหม …. คนเขียนสามารถหลายอย่าง แต่อ่านใจไม่สามารถนะจ๊ะ
3. คนเขียนไม่สร้างโลกสวยให้ลูกความค่ะ คิดยังไง พูดอย่างงั้น

…. ถ้าคิดว่าเคสจะไปไม่รอด จะบอกตั้งแต่ต้นเลยว่าไปไม่รอด
…. ถ้าเสี่ยงมาก ก็บอกว่าเสี่ยงมาก
…. ถ้าบอกว่าเคสนี้ คนเขียนไม่กังวล ก็แปลว่าไม่กังวล
…. อย่างเดียวที่ไม่เคยบอกลูกความ คือเคสนี้ผ่านแน่ๆ …. จะบอกได้ยังไง ไม่ใช่คนตัดสินเคส

 

Blog writer: Kanokwan Subhodyana
Immigration Lawyer

Blog: https://visablog.weebly.com