- Posted byKay Subhodyana
- inAAT review application
Q: ได้ทำเรื่องยื่น AAT เเล้วไปศาลเมื่อสิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา อยากจะทราบว่า หลังจากไปศาลเสร็จ รอนานไหมคะ กว่าผลจะออก A: ขึ้นอยู่เนื้อหาของเคส และ Tribunal member เจ้าของเคสค่ะ อาจจะวันเดียวกัน อาทิตย์ถัดไป หรือหลายเดือนหลังจาก Hearing Q: อยากถามเพิ่มเติม ถ้าเรารอผลตัดสินของ AAT ถ้ายิ่งรอผลนานมีสิทธิที่จะไม่ผ่าน มากกว่า ผ่านไหมคะ A: ไม่ค่ะ ขึ้นอยู่กับจำนวนเคสและการบริหารเคสในมือของ Tribunal member แต่ละคน และบางคนก็ทำงาน Part-time Blog writer: Kanokwan SubhodyanaImmigration Lawyer Blog: https://visablog.weebly.com
Continue Reading...- 28
- Mar
- 2020
- Posted byKay Subhodyana
- in457 visa, 482 visa, AAT review application, Bridging visas, COVID-19, ENS visa, Nomination, Partner visa, Regional visas, RSMS visa, Uncategorized
โพสนี้ คนเขียนรวบรวมคำถามที่น้องๆถามเข้ามาเกี่ยวกับผลกระทบกับวีซ่าจาก COVID-19 นะคะ Original post: 28 March 2020 ตัวหนังสือสีเทาดำUpdate 1: 4 April 2020 ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ถือวีซ่าท่องเที่ยว ไม่ติด 8503 (No further stay condition) ===>> ยื่นขอต่อวีซ่าท่องเที่ยว หรือมีวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึงก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ ถือวีซ่าที่ติด No further stay condition : 8503, 8534 หรือ 8535 ===>> ยื่นขอยกเว้นเงื่อนไข No further stay แต่เนิ่นๆ 2 เดือนก่อนวีซ่าตัวเดิมหมดอายุ เพราะระยะการพิจารณาต้องใช้เวลาพอสมควร ===>> เมื่ออิมมิเกรชั่นยกเว้นเงื่อนไข ก็สามารถยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่าตัวอื่นที่เรามีคุณสมบัติถึง ===>> ยื่นขอวีซ่าตัวใหม่ก่อนได้รับยกเว้นเงื่อนไข = […]
Continue Reading...- 24
- Jan
- 2019
- Posted byKay Subhodyana
- in457 visa, 482 visa, AAT review application, Bridging visas, ENS visa, Nomination, RSMS visa, Uncategorized, Visa refusal
เคสนี้เป็นเรื่องของลูกความแถบยุโรบคู่หนึ่งที่มาด้วย Working Holiday visa และทำวีซ่า 457 กับเอเจนต์อื่น ลูกความติดต่อมาหาคนเขียนครั้งแรกกลางปี 2016 Standard Business Sponsorship (SBS) application ถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์คำนวนค่าเทรนนิ่งผิด เอเจนต์แนะนำให้ยื่นอุทธรณ์ คนเขียนแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่เข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เพราะเป็นประเด็นที่แก้ไขได้ และยื่นใหม่เร็วกว่ายื่นอุทธรณ์แน่นอน ลูกความอยากเปลี่ยนมาให้คนเขียนดูแล แต่นายจ้างยังมั่นคงกับเอเจนต์เดิม (ปัญหาโลกแตก ต้องปล่อยให้นายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอาเอง) เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ลูกความติดต่อมาอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2018 และจะให้คนเขียนยื่นขอพีอาร์ให้ คนเขียนก็คิดว่าลูกความต้องการต่อยอดจาก 457 เป็นวีซ่าพีอาร์ 186 …. คือดูจากเวลาแล้วน่าจะใช่ น่าจะถือ 457 (เข้ากฏเก่า) มาแล้ว 2 ปี ปรากฏว่าความเป็นจริงห่างไกลจากที่คิดไว้เยอะเลยค่ะ ที่หายไป 2 ปีกว่า คนเขียนวิเคราะห์ได้ตามข้างล่าง คือต้องวิเคราะห์เองจากเอกสาร เพราะถามอะไรลูกความก็ทำหน้างงๆ — คืองงอะไร ไม่เข้าใจ จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่ใช่ […]
Continue Reading...- 28
- Nov
- 2018
UPDATE: 14 December 2018 จากที่คนเขียนโพสไปเมื่อวันที่ 28 November ว่า “ยื่นอุทธรณ์ AAT ไม่ทันเวลา อาจจะยังมีหวัง” (อ่านเนื้อหาเดิมได้ด้านล่าง) …. ปรากฏว่าเป็นความหวังที่สั้นมากค่ะ …. เพราะ the Federal Court (Full Court) ได้มีคำตัดสินกลับไปเป็นแนวทางแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา คือ…. ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเวลา = No jurisdiction = AAT ไม่สามารถพิจารณาเคสได้ เราคงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ไปถึง the High Court หรือไม่ และผลจะเป็นยังไง ที่มา: Beni v Minister for Immigration and Border Protection [2018] FCAFC 228 (14 […]
Continue Reading...- 15
- Nov
- 2018
- Posted byKay Subhodyana
- in457 visa, 482 visa, AAT review application, ENS visa, Nomination, RSMS visa, Uncategorized
เคสที่คนเขียนจะแชร์วันนี้เป็นเคสมหาหิน และเป็นเคสที่ใช้ชั่วโมงการทำงานเยอะมากถึงมากที่สุด ข้อคิดในเคสนี้อยู่ในเนื้อหา (ไม่มี ป.ล. 1, 2, 3, 4) หวังว่าน้องๆจะได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดในเคสนี้ และเอาไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับเคสตัวเองนะคะ โพสนี้แอดวานซ์นิดนึงนะคะ สำหรับคนที่พอมีความเข้าใจเงื่อนไขของวีซ่า 186 หรือ 187 มาบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่ รบกวนตามอ่านลิงค์ที่ให้ไว้ตัวส้มๆในโพสนี้ก่อน จะได้พอเข้าใจว่าคนเขียนพูดถึงอะไร และสำคัญยังไง คุณลูกความติดต่อมาขอคำแนะนำหลังจากอิมมิเกรชั่นปฏิเสธ Nomination สำหรับวีซ่า Subclass 186 แบบ Temporary Residence Transition Stream (TRT) ….. เหตุผลที่ปฏิเสธก็มี 2 ข้อด้วยกัน คือ นายจ้างมีประวัติไม่ทำตามเงื่อนไขการเป็นสปอนเซอร์หลายข้อ เคยถูกปรับ เคยติดบาร์ห้ามสปอนเซอร์พนักงานเพิ่ม เนื่องจากอิมมิเกรชั่นเจอว่าลูกจ้างทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากหน้าที่ของตำแหน่งที่ได้รับการสปอนเซอร์มา อิมมิเกรชั่นเลยตัดสินว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานในตำแหน่งที่จ้างครบ 2 ปี ในระหว่างที่ถือวีซ่า 457 (จริงๆแล้วเหตุผลการปฏิเสธคือข้อล่างเท่านั้น แต่ข้อบนเป็นที่มาที่ไปสำคัญของการถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้นจากคำตัดสิน เคสนี้มี […]
Continue Reading...วันนี้มาให้ข้อมูลสั้นๆเกี่ยวกับค่ายื่นใบสมัครอุทธรณ์ (Review application) ที่ชั้น AAT หรือชื่อเต็มๆว่า Administrative Appeals Tribunal Migration review application เป็นการยื่นอุทธรณ์ในกรณีถูกปฏิเสธวีซ่า ถูกปฏิเสธ Nomination หรือ Sponsorship หรือการถูกยกเลิกวีซ่า เป็นต้น ค่ายื่นอุทธรณ์คือ $1,764 ถ้าชนะที่ชั้นอุทธรณ์ได้ค่ายื่นคืน 50% ใครชนะที่ชั้นอุทธรณ์แล้วไม่เห็นเงินนี้ภายใน 4 อาทิตย์ ก็ควรติดต่อ AAT, ทนายความ หรือเอเจนต์ที่ดูแลเคสของเราค่ะ Refugee review application เป็นการยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับวีซ่าลี้ภัย ตอนยื่นไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าแพ้ที่ชั้นอุทธรณ์ จะต้องชำระค่ายื่นให้ AAT $1,764 เบี้ยวไม่ชำระ ถือว่าติดหนี้รัฐ อาจจะมีผลกระทบกับวีซ่าตัวถัดไป ป.ล. อาจจะไม่บ่อยเท่าค่ายื่นวีซ่า แต่ค่ายื่นอุทธรณ์ก็มีการขึ้นราคานะคะ รายละเอียดอื่นเกี่ยวกับ AAT เขียนไว้ในโพสนี้ ซึ่งตอนที่เขียน ชื่อหน่วยงานคือ MRT (Migration Review […]
Continue Reading...- 11
- Jul
- 2018
- Posted byKay Subhodyana
- inAAT review application
เมื่อสองสามวันมานี้ คนเขียนนั่งเตรียมเคส เตรียมลูกความสำหรับ AAT Hearing ในวันพรุ่งนี้ วีซ่าของน้องถูกปฏิเสธเพราะเอเจนต์เดิมไม่เข้าใจข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเข้าไปที่ชั้นอิมมิเกรชั่น (ด้วยความเข้าใจผิดในข้อกฏหมาย) ตอนน้องติดต่อมา เราเริ่มด้วยการทำ Consultation (คือการให้คำปรึกษาเบื้องต้น) เพื่อที่คนเขียนจะได้อ่านคำตัดสินของอิมมิเกรชั่น และสัมภาษณ์น้องเพื่อที่จะดูความเป็นไปได้ของเคส คือพยายามหาแนวทางแก้ไขเคสเบื้องต้น … ซึ่งจากการสัมภาษณ์น้อง คนเขียนเชื่อว่าเคสมีความเป็นไปได้สูง อยู่ที่ว่าเราจะพยายามนำเสนอให้ AAT เห็นตามเราได้ยังไง ในเมื่อ AAT ก็มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เอเจนต์ยื่นเข้าไปก่อนหน้านี้ที่ชั้นอิมมิเกรชั่น เริ่มแรกเลย… คนเขียนก็พยายามอธิบายเคสให้น้องฟังว่ามันเป็นเคสที่มีความเป็นไปได้อยู่นะ แต่เนื่องจากว่าเคสนี้เกี่ยวข้องกับคอนเซ็ปทางข้อกฏหมายและการตีความทางกฏหมาย พยายามอธิบายให้ง่ายยังไง คนฟังก็ยังงงอยู่ดี คือเหมือนจะเข้าใจแต่เข้าใจไม่ทั้งหมด ก็ขนาดเอเจนต์เองยังไม่เข้าใจ คนเขียนก็ไม่คาดหวังว่าน้องจะเข้าใจเคสตัวเองได้อย่างถ่องแท้ ในเคสนี้ถึงแม้คนเขียนจะเชื่อว่าเคสมีความหวังสูงอยู่ ก็ไม่กล้าให้ความหวังน้องมาก เพราะการไป AAT ไม่ได้มีแค่การยื่นเอกสาร แต่มี Hearing ด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็ต้องไปที่ AAT และถูกซักถามมากมาย บางคนก็ทำได้ดี บางคนก็ทำได้ไม่ดี บางคนเคสดีแต่สื่อสารได้ไม่ดี บางคนความจำเสื่อมขึ้นมากระทันหัน (คือสมองว่างเปล่าด้วยความตื่นเต้น) เคสนี้น้องและคนเขียนอยู่คนละรัฐ แต่เราติดต่อกันเป็นระยะๆ น้องโทรถามโทรอัพเดทชีวิตให้ฟัง […]
Continue Reading...- 13
- Apr
- 2018
Bridging visa คืออะไร คนเขียนมักจะอธิบายแบบสั้นๆง่ายๆให้ลูกความฟังว่า Bridging visa คือวีซ่า “รอ” …. รออะไร … ก็รอผลการพิจารณาของวีซ่าตัวจริงที่เรายื่นขอไปไงคะ เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าทำงาน อิมมิเกรชั่นเรียกวีซ่าตัวจริงพวกนี้ว่า “Substantive visa” วีซ่า “รอ” (Bridging visa) กับวีซ่าตัวจริง (Substantive visa) มีความสัมพันธ์กันอยู่ค่ะ พอเรายื่นขอวีซ่าตัวจริงอะไรซักอย่างเข้าไปที่อิมมิเกรชั่น เช่นวีซ่านักเรียน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าทำงาน อิมมิเกรชั่นก็จะออก Bridging visa มาให้ เพื่อที่ผู้สมัครจะได้ “รอ” ผลการพิจารณาวีซ่าอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้อย่างถูกกฏหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วอิมมิเกรชั่นจะออก Bridging visa ให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการยื่นขอ Substantive visa …. ใช้คำว่า “โดยส่วนใหญ่” เพราะก็มีบางกรณีที่ Bridging visa ไม่ได้ออกให้อัตโนมัติ คือต้องกรอกแบบฟอร์มยื่นขอกันตังหาก […]
Continue Reading...